คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
ปัญหาการเคลื่อนไหวจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2020 10 นาฬิกา 06 นาที 47 วินาที Asia/Bangkok
ปัญหาการเคลื่อนไหวจากโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก รวมทั้งประชากร ผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งเมื่อร่างกายคนเราเข้าสู่วัยชราก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
สาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนกลาง ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการลดลงของสารสื่อประสาทที่ชื่อโดปามีน (Dopamine)
ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมระบบประสาทส่วนกลาง ในการทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อมีการลดลงของสารสื่อประสาทนี้ จะส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ได้ลดลง สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงาน ของกล้ามเนื้อ ทำ ให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และก่อให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
อาการของโรคที่เห็นได้ชัด
โดยทั่วไป อาการที่แสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด คือ
• อาการสั่น โดยเฉพาะเวลาอยู่นิ่ง มักพบการสั่นที่มือและเท้า
• อาการเกร็งตามกล้ามเนื้อ
• เคลื่อนไหวช้า
• ท่าเดินผิดปกติ
• การแสดงสีหน้าเฉยเมยไม่มีอารมณ์
• เสียงพูดเบาๆไม่ชัด หากพูดนานเสียงจะหายไป
• เขียนหนังสือลำบาก
ทำไมโรคพาร์กินสันถึงส่งผลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหว
นอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น อาการที่ส่งผลกระทบอย่างมากในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยพาร์กินสันก็คือการเคลื่อนไหว จากท่าเดินที่ไม่ปกติของผู้ป่วย เช่น การก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที จึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากที่จะหกล้มหน้าคว่ำ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์
รักษาได้อย่างไร
การรักษาโรคพาร์กินสันมี 3 วิธี คือ
• รักษาด้วยยา
• ทำกายภาพบำบัด เช่น ฝึกการเดินให้ค่อยๆก้าวขาแต่พอดี, ฝึกการพูด
• การผ่าตัด
**********************************************
อุปกรณ์เสริมที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเดินและทำกายภาพได้ง่ายขึ้น
หากผู้ป่วยยังอยู่ในระยะที่สามารถทรงตัวได้เองบ้าง แต่ต้องการส่วนค้ำจุนเพื่อช่วยให้เดินสะดวกและปลอดภัย กรณีนี้สามารถใช้รถเข็นช่วยเดินหรือwalker ธรรมดาได้ ส่วนในการณีที่อาการค่อนข้างหนักและส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทรงตัว การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน Gait Trainer ที่มีส่วนประคองช่วงลำตัวและสะโพก จะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกเดินด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า
ตัวอย่างอุปกรณ์ช่วยเดิน
อุปกรณ์ช่วยเดิน ฝึกเดิน Gait trainer
รถเข็นช่วยเดิน Walker Rollator
แหล่งที่มา
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=112
http://clmjournal.org/_fileupload/journal/46-2.pdf
https://www.vanraam.com/getmedia/3078b293-12dd-4a5b-8bdf-028ee835bdcc/Cycling-with-Parkinson-s-disease-with-Van-Raam-special-needs-bicycles.png
https://cdn-w.medlife.com/2018/06/Parkinsons-disease.jpg
https://goobjoog.com/english/wp-content/uploads/2017/09/Parkinson-Disease.jpg