คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
ปัญหาโรคกระดูกพรุน(Osteoporosis) ในผู้สูงอายุ
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 15 นาฬิกา 19 นาที 45 วินาที Asia/Bangkok
ปัญหาโรคกระดูกพรุน(Osteoporosis)ในผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาเสมอ โดยเฉพาะปัญหาทางกายภาพ สำหรับผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตตามปกติก็นับว่ายากมากแล้ว เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมลงทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนอย่างเคย ในขณะที่ผู้สูงอายุบางรายมีอาการป่วยโรคกระดูกพรุนร่วมด้วย ยิ่งทำให้การใช้ชีวิตยากมากขึ้นไปอีก ซึ่งผู้สูงอายุกระดูกพรุนควรจะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการเคลื่อนไหวร่างกายในภาวะของ โรคกระดูกพรุน
ภาวะกระดูกพรุน เป็นอย่างไร??
โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้วทำให้กระดูกเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนัก และแตกหักตามมา โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้ 20 เปอร์เซ็นต์ โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว
สาเหตุของโรคกระดูกพรุนและปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้เกิดโรค
- พันธุกรรม หรือ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- การสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดย 25% ของสตรีที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมักพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
- การใช้ยา การใช้ยารักษาโรคบางชนิดอาจนำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ออร์ติโซน ยาเฮปาริน ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
- ขาดวิตามินดีหรือแคลเซียม
- การทานโซเดียมหรือเกลือมากเกินไป
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
- ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์ (Hyperthyroidism )
- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ
ป้องกันโรคกระดูกพรุนทำอย่างไร
โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันได้ โดย
- ออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารให้สมส่วน โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ร่างกายจึงควรได้รับแร่ธาตุทั้ง 2 นี้อย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปลายๆ หรือ 30 ต้นๆ
- งดสูบบุหรี่และจำกัดเครื่องดื่มมึนเมารวมถึงสารคาเฟอีน เนื่องจากมีส่วนทำลายกระดูก
- ตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในวัยเกิน 50 ปีควรเข้ารับเข้าตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่น ๆ
อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมาก
ได้แก่
- ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี
- นมและผลิตภัณฑ์ของนม
- ปลาซาร์ดีนพร้อมกระดูก
- ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก
- กุ้งแห้ง
- เต้าหู้แข็ง
- งาดำ
- กะปิ
- ฯลฯ
“อุปกรณ์ที่จะช่วยให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น”
แหล่งที่มา
[1] https://www.bumrungrad.com/th/conditions/osteoporosis
[2] https://www.nonthavej.co.th/Osteoporosis.php
[3] https://allwellhealthcare.com/osteoporosis/
[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Osteoporosis
[5]https://www.spineuniverse.com/conditions/osteoporosis/osteoporosis-silent-thief
[8] https://www.qpilates.net.au/2016/01/15/osteoporosis-how-does-exercise-help/