คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2021 15 นาฬิกา 31 นาที 14 วินาที Asia/Bangkok
ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทและสมองที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกลไกการเกิดของโรคนั่นคือ ความเสื่อมของเซลล์สมองที่อยู่บริเวณก้านสมอง (Substantia Nigra Pars Compacta) โดยกลุ่มเซลล์สมองนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว โดยการผลิตสารสื่อประสาทประเภทโดปามีน (Dopamine) ออกมา
อาการที่พบในโรคพาร์กินสัน
• อาการทางการเคลื่อนไหว (Motor Symptoms) อาทิ สั่นขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวลำบาก เดินซอยถี่ แกว่งแขนลดลงขณะเดิน เขียนหนังสือตัวเล็กลงและติดกัน เป็นต้น
• อาการนอกเหนือจากการเคลื่อนไหว (Nonmotor Symptoms) อาทิ ปัญหาการขับถ่าย ปัญหาการนอนหลับ ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ปัญหาการดมกลิ่นและการรับรสอาหาร เป็นต้น
หลักการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
• รับประทานยาให้ครบตามเวลา ตามปริมาณยา ตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งสังเกตอาการที่อาจเกิดจากผลข้างเคียงจากยา
• หมั่นสังเกตและจดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการปรับยาของแพทย์
• ทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
• ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาการพูดร่วมด้วย อาทิ พูดรัวเร็ว พูดเบาลง ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสาร ผู้ดูแลอาจเกิดความหงุดหงิดรำคาญได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรใจเย็นลง ประกอบกับให้ผู้ป่วยใช้สื่อต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการสื่อสาร และควรพาผู้ป่วยไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกพูด
• ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาการกลืนลำบากร่วมด้วย ดังนั้นควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน อาหารเหลว หรืออาหารที่เคี้ยวง่าย หลีกเลี่ยงการพูดคุยขณะรับประทานอาหาร ระมัดระวังการสำลักอาหาร
• รับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยในการขับถ่าย ลดอาการท้องผูก
• ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาปัสสาวะไม่สุด ให้ผู้ดูแลใช้มือนวดที่หน้าท้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เพื่อช่วยรีดน้ำปัสสาวะของผู้ป่วยออกให้หมด และลดปริมาณการดื่มน้ำของผู้ป่วยในช่วงเย็นหรือก่อนนอนเพื่อลดการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
• ผู้ป่วยมักมีปัญหาด้านการนอน คือ นอนหลับไปแล้วตื่นขึ้นมากลางดึก สามารถช่วยผู้ป่วยได้โดยจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนให้เอื้อต่อการนอนมากขึ้น อาทิ ลดแสงสว่าง ลดเสียงรบกวน
• ดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่อาจมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวลหรือรู้สึกอับอายต่อโรคที่เป็น อาจไม่ยอมเข้าสังคม โดยการชักชวนพูดคุยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยอยู่เสมอ
ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย
Dynamico (อุปกรณ์ช่วยเดิน) | Grillo (อุปกรณ์ช่วยเดิน) | Armon (อุปกรณ์พยุงแขน) |
![]() |
![]() |
![]() |
รายละเอียดเพิ่มเติม CLICK | รายละเอียดเพิ่มเติม CLICK | รายละเอียดเพิ่มเติม CLICK |
ที่มา :
[1] http://www.chulapd.org/uploads/download_list/4/a-04.pdf
[2] https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Parkinson_disease
[3] https://mobile.hksh.com/en/physio-our-services/neurological-rehabilitation/parkinsons-disease